หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ขั้นตอนการเสียภาษี

  หนึ่งในหน้าที่ของผู้มีเงินได้ คือ การยื่นภาษี โดยปกติจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ถึงสิ้นเดือนเมษายน เอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง ยื่นภาษีมีขั้นตอนอย่างไร ดูข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่


 

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1. บุคคลธรรมดา

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

บุคคลธรรมดา มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ

2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

 

ตารางการเสียภาษี

เงินได้สุทธิต่อปี

อัตราภาษีเงินได้

0-150,000 บาท

ยกเว้นภาษี

150,001-300,000 บาท

5%

300,001-500,000 บาท

10%

500,001-750,000 บาท

15%

750,001-1,000,000 บาท

20%

1,000,001-2,000,000 บาท

25%

2,000,001-5,000,000 บาท

30%

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

เอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง?

1. หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารยื่นภาษีที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ

2. เอกสารลดหย่อนภาษี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน อาทิ SSF/RMF, เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น เช็กรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดได้ที่นี่

ใบ 50 ทวิ สำคัญแค่ไหน ใช้ยื่นลดหย่อนภาษีออนไลน์อย่างไร

 

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง

1. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่

2. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้

3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

 

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรถือเป็นตัวเลือกที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากไม่ต้องไปถึงที่สำนักงานสรรพากร และสามารถยื่นเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้

วิธียื่นภาษีออนไลน์

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และคลิกไปที่ "ยื่นออนไลน์"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

2. กดคลิกที่ "ยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91

วิธียื่นภาษีออนไลน์

3. เข้าสู่ระบบการ Login ด้วย "เลขบัตรประชาชน" และ "รหัสผ่าน"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

4. ตรวจสอบข้อมูลของคุณให้รายละเอียดอย่างถูกต้อง และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

5. "เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้" ในกรณีที่มี "คู่สมรส" ให้กรอกข้อมูลตามช่องดังกล่าว และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

6. "เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน" จากที่มาของรายได้ และ "เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน" หากมีลดหย่อนตามเงื่อนไข และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

7. นำข้อมูลจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากบริษัทผู้ว่าจ้าง กรอกลงไปในช่อง และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

8. ใส่ข้อมูลของค่าลดหย่อนตามเงื่อนไขที่คุณมี และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

9. หลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรจะคำนวณ และแสดงภาษีที่คุณต้องจ่าย และในส่วนที่ต้องได้คืน และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

วิธียื่นภาษีออนไลน์

10. ตรวจสอบข้อมูลในทุกข้อให้เรียบร้อย และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"

11. หากในกรณีขอคืนภาษีทางกรมสรรพากรจะให้พิมพ์แบบเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่ "นำส่งเอกสารขอคืนภาษี" ได้ทันที หลังจากยื่นเสร็จเรียบร้อย

 

ยื่นภาษีออนไลน์ได้ถึงเมื่อไหร่

ยื่นภาษีแบบกระดาษได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2565 เพื่อเสียภาษี ลดหย่อนภาษี หรือขอคืนภาษีที่เสียไปแล้ว และสามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2565

 

หากยื่นภาษีไม่ทันทำอย่างไร

1. หากยื่นภาษีไม่ทันในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องนำเอกสารยื่นภาษีไปยื่นเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และมีโทษการไม่ยื่นภาษีภายในกำหนดเวลา

2. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

3. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

4. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการขอคืนภาษี

กรมสรรพากร ได้แนะนำวิธีการตรวจสอบและแก้ปัญหาในเรื่องของการขอคืนภาษี ดังนี้

1. ตรวจสอบสถานะขอคืนภาษีได้ช่องทางไหนบ้าง

ผู้ "ขอคืนภาษี" สามารถตรวจสอบสถานะการ ขอคืนภาษี ในเบื้องต้นที่ เว็บไซต์สรรพากร จากนั้นคลิก E-Filing, คลิก ส่ง / ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษี หรือ เว็บไซต์สรรพากร จากนั้น คลิก ห้องข่าว, คลิก ข่าวสารอื่น ๆ และคลิก ส่ง/ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ส่วนกรณีผู้ยื่นภาษีส่งเอกสารพร้อมใบนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และจ่าหน้าซองถูกต้อง จะสามารถตรวจสอบได้จากใบตอบรับ หรือที่เว็บไซต์ www.Thailandpost.com อีกช่องทางหนึ่ง

2. หากไม่ได้รับเช็คคืนเงินภาษี ควรทำอย่างไร

ในกรณีผู้ยื่นภาษีตรวจสอบสถานะ “คืนเงินภาษี” แล้วพบว่า มีการส่งเช็คคืนเงินภาษีให้แล้ว แต่ไม่ได้รับ เนื่องจากการเปลี่ยนที่อยู่ หรือไม่ได้เปลี่ยนที่อยู่แต่ยังไม่ได้รับเช็ค ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพื่อขอรับเช็คฉบับดังกล่าว หรือยื่นคำร้องขอออกเช็คฉบับใหม่

โดยต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา และหนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา ในการยื่นคำร้องอีกครั้ง

3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติม โดยได้รับคืนเงินภาษีลดลง/เพิ่มขึ้น

กรณีผู้ขอคืนภาษี ที่ยื่นแบบฯ มากกว่า 1 ฉบับ เนื่องจากได้ทำรายการยื่นแบบฯ เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงรายการ เป็นผลให้ได้รับเงินคืนภาษีลดลง/เพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขอคืนเงินภาษีได้รับเช็คคืนเงินภาษีฉบับแรกจากกรมสรรพากรแล้ว ผู้ขอคืนเงินภาษีสามารถดำเนินการ ได้ดังนี้

- กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงิน “มากกว่า” การยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ให้ผู้ขอคืนเงินภาษีนำเช็คฯ ส่งคืนให้แก่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามหนังสือแจ้งคืนเงินฯ และกรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี ตามแบบฯ ที่ถูกต้องให้ต่อไป

- กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงิน “น้อยกว่า” การยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ผู้ขอคืนภาษีสามารถนำเช็คคืนเงินฉบับแรกเข้าบัญชีได้ทันที และ กรมสรรพากรจะจัดส่งเช็คคืนเงินภาษีในส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขอคืนภาษีต่อไป

4. ถ้าเช็คคืนเงินภาษีชำรุด สูญหาย หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินควรทำอย่างไร

หากเช็คคืนเงินภาษีที่ได้รับชำรุด หรือสูญหาย หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่น คำนำหน้าชื่อไม่ถูกต้อง หรือชื่อ/นามสกุลไม่ถูกต้อง หรือเช็คเกิน 6 เดือน ให้นำเช็คดังกล่าว (ถ้ามี) ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการ เพื่อยื่นคำร้องขอออกเช็คฉบับใหม่ โดยเอกสารที่ใช้ประกอบคำร้อง มีดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา

- หนังสือแจ้งความ กรณีผู้ขอคืนทำเช็คที่ได้รับสูญหาย

- หนังสือแจ้งเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล กรณีเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล

- หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา

5. ได้รับเช็คคืนเงินภาษี แต่ไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหรือ เข้าบัญชีไม่ได้ ทำอย่างไร

- กรณีผู้ "ขอคืนภาษี" มีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในเขตกรุงเทพฯ ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร ชั้น 7 อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

- กรณีมีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในต่างจังหวัด ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานสรรพากรพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ประกอบการแลกเช็คเป็นเงินสด ได้แก่

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางกรณีคนต่างด้าว พร้อมสำเนา

- หนังสือจัดตั้งคณะบุคคล กรณีคณะบุคคล

- หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นกระทำการแทนและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา

6. หากไม่เห็นด้วย กรณีไม่ได้รับเงินคืนภาษี หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน ทำอย่างไร

กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอคืนเงินภาษี แต่ไม่ได้รับเงินคืนภาษีที่ขอคืน หรือได้รับเงินคืนภาษีน้อยกว่าที่ขอคืน หากไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาคืนเงินภาษีดังกล่าว ให้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ค.30 ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหนังสือแจ้งไม่คืนเงินฯ โดยจัดทำหนังสืออุทธรณ์ขึ้นเอง และชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมแนบเอกสารประกอบ

ตรวจสอบการยื่นภาษี ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 ทำไมขอคืนภาษี แต่ไม่ได้รับเงิน

7. ระยะเวลาในการได้รับเงินคืนภาษีกำหนดไว้อย่างไร

กรมสรรพากร กำหนดจะดำเนินการ คืนภาษี ภายใน 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่า ได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำ หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขั้นตอนการเสียภาษี

   หนึ่งในหน้าที่ของผู้มีเงินได้ คือ การยื่นภาษี โดยปกติจะ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองที...